เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 2/2557 หน่วย : "คณิตกับชีวิต"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน ร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ ให้เพื่อนๆและคุณครูฟังได้ว่า มีวิธีคิดอย่างไร เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร พร้อมทั้งนำไปปรับประยุกต์ใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

2. เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เห็นแนวโน้มความน่าจะเป็นจากข้อมูล และนำไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้


week4

บันทึกหลังการสอน

         วันจันทร์ เรียนรู้เรื่อง บอกเวลาบนหน้าปัดนาฬิกา ครูนำนาฬิกามาให้นักเรียนดู จากนั้นกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจาก นาฬิกาไม่มีนาฬิกา นักเรียนจะทำอย่างไร เพราะเหตุใด
- พี่แจ๊บ บอกว่า นาฬิกาทำให้เรารู้ว่าเวลาเท่าไรครับ
- พี่แพรว บอกว่า นาฬิกา ทำให้เรารู้กลางวันกลางคืนค่ะ
- พี่ออม บอกว่า ถ้าไม่มีนาฬิกาก็ดูที่ดวงอาทิตย์ค่ะ
- พี่แม็ค บอกว่า ทำนาฬิกาแดดแทนครับ
จากนั้น ครูกระตุ้นการคิดต่อ ด้วยคำถามว่า เข็มสั้นชี้ที่เลข 7 เข็มยาวชี้ที่เลข 12 อ่านว่าอย่างไร ถ้าเป็นตอนกลางวันและถ้าเป็นตอนกลางคืน นักเรียนสามารถอ่านเวลาได้ทุกคน จากนั้นเปลี่ยนคำถามใหม่ เช่น ตั้งแต่ 7 นาฬิกา 30 นาที ถึง 10 นาฬิกา ห่างกันกี่ชั่วโมงกี่นาที (นักเรียนออกมาแสดงวิธีคิดบนกระดาน เพื่อนที่เหลือช่วยเพิ่มเติม)
- พี่ออม ใช้วิธีลบ และเลือกยืมชั่วโมงแล้วเปลี่ยนเป็นนาที ( เช่น 10.00 – 7.30 = 2.30 )
- พี่มิว ใช้วิธี นับไปเรื่อยๆจนถึง10 นาฬิกา ( เช่น 7.30 . ถึง 8.00. ห่างกัน 30 นาที, 8.00 . ถึง 9.00 . ห่างกัน 1 ชั่วโมง, 9.00. ถึง 10.00 . ห่างกัน 1 ชั่วโมง รวมได้ 2 ชั่วโมง 30 นาที)
จากนั้นครูแจกใบงานให้นักเรียนขึ้นทำงานรายบุคคล
ท้ายชั่วโมง ครูสุ่มนักเรียนนำเสนอวิธีคิดบนกระดาน ที่เหลือเช็ควิธีคิดและคำตอบของตนเอง
        วันอังคาร  นักเรียนเรียนรู้ เรื่องเวลาต่อจากวันจันทร์ ครูเริ่มจากทบทวนสิ่งที่เรียนในเมื่อวาน นักเรียนสามารถหาระยะห่างของช่วงเวลาได้ จากนั้น ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามต่อว่า
นักเรียนตื่นนอนกี่โมง
เราเริ่มเรียนตอนบ่ายเวลาเท่าไร
นักเรียนเลิกเรียนตอนกี่โมง
ห้องเราแปรงฟันเวลาเท่าไร เป็นต้น ฯลฯ
จากนั้นครูแจกครูให้โจทย์เกี่ยวกับเรื่องเวลา 10 ข้อให้นักเรียนขึ้นทำงานรายบุคคล
ท้ายชั่วโมง ครูสุ่มนักเรียนนำเสนอวิธีคิดบนกระดาน ที่เหลือเช็ควิธีคิดและคำตอบของตนเอง
       วันพุธ  เรียนรู้เรื่องมาตราส่วน ผ่านการลงมือปฏิบัติ โดยนักเรียนได้โดยคือ สร่างโมเดลโรงเรียน ครูกำหนดบริเวณที่สำคัญ 7 ที่ คือ ลาดจอดรถ โรงอาหาร อาคารประถม สนามฟุตบอล สนามวอลเลย์บอล สนามบาสเกตบอล และบ้านมัธยม
       เนื่องจากในสัปดาห์ที่ 2 เรียนรู้การหาอัตราส่วนที่เท่ากัน นักเรียนได้ลงพื้นที่ วัดความกว้างและความยาวของสนามฟุตบอล สนามวอลเลย์บอล สนามบาสเกตบอล ได้ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
      เหลือ คือ ลาดจอดรถ โรงอาหาร อาคารประถมและบ้านมัธยม ครูจึงแบ่งเป็น 4 กลุ่มกำหนดเวลา ในการไปเก็บข้อมูล ความกว้างและความยาวของสถานที่ที่ได้ ภายใน 20 นาที  (นักเรียนแต่ละกลุ่มจะมีเพียงเชือกในการวัด)


- เมื่อครบ 20 นาที ทุกกลุ่มวัดความกว้างและความยาวของเชือกที่ได้
- เทียบมาตราส่วน และวาดลงบนกระดาษ A3
- จับกลุ่มวางแผน เตรียมอุปกรณ์เพื่อทำโมเดลในสัปดาห์หน้า
สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ
- ขนาดที่ได้มาจะมีความคาดเคลื่อน
- การเทียบหน่วยเมตร เชนติเมตร มิลลิเมตร
- การใช้ไม้บรรทัด สายวัด
สะท้อนปัญหาและอุปสรรค คือ
- เชือกพันกัน แก้ปัญหา ต้องมีไม้หรือปากกาม้วนตาม
- บางพื้นที่ระยะที่วัดไกล แก้ปัญหา โดยการต่อเชือกและจำว่า 1 เส้นใช้กี่รอบ
- เพื่อนในกลุ่มยังเทียบเมตร เซนติเมตร และมิลลิเมตรไม่ได้ แก้ปัญหา แนะนำเพื่อน
(นักเรียนที่ไม่เข้าใจ ครูจะใช้วิธีให้มานั่งทำงานด้วยและเสริมตอนเย็น)
        วันพฤหัสบดี (เกี่ยวข้าวรวมกันพี่น้อง) ครูให้การบ้าน เรื่องการอ่านเวลากลางวัน กลางคืน
        วันศุกร์ นักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่เรียนมาตลอดสัปดาห์  ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin สรุปความเข้าใจเรื่องสาระการวัด ผ่าน การ์ตูนช่อง (ครูให้การบ้านเสาร์-อาทิตย์ เตรียมอุปกรณ์ทำโมเดลโรงเรียนนอกกะลาในวันจันทร์)

ภาพรวมกิจกรรมการเรียนรู้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น